Well Come ยินดีต้อนรับ
Well Come ยินดีต้อนรับ
Well Come ยินดีต้อนรับ
Well Come ยินดีต้อนรับ


วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 13 วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนและออกไปปฏิบัติหน้าห้องสิ่งที่กำหนดให้ดังนี้
1.คำคล้องจอง
2.รู้สึกอย่างไร
3.ครอบครัวของฉัน
4.ทำและปฏิบัติ
5.ทำตรงกันข้าม
6.พูดกระซิบต่อกัน
7.วาดภาพและเล่านิทานต่อกัน
8.ร้องเพลง
9.วาดภาพเล่าเรื่องแต่ละหัวข้อมีประโยชน์อย่างไรกับเด็กปฐมวัย
บรรยากาศในห้องสนุกสนานตอนที่เพื่อนออกไปปฏิบัติหน้าห้อง
อาจารย์ให้ออกแบบวางแผนการทำปฏิทินคำ ของดิฉันทำคำที่สระ"อู"ลงท้าย

ครั้งที่ 12 วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2554

อาจาร์ยสอนเรื่องบรูณาการนิทาน เชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ
นิทานเรื่อง"ผมแกละ" นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องอะไรให้กับเด็กได้บ้าง
-เลียนเสียงของสัตว์
-คำซ้ำ
-เด็กๆอย่ากลัวเสียงฟ้าร้อง
ภาษาธรรมชาติ(Whole Language Approach)การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาการภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ครูใช้ภาษาทุกทักษะด้านการฟัง การพูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะนำหลักสูตร การทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ เขียนหนังสือต่างๆ
จูดิท นิวแมน(Judith Newman)
ปรัชญาคือ ความเชื่อในความตั้งใจ
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา ความคิด ของผู้สอนโดยก่อตัวขึ้นจากหลักการผู้สอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์โดยตรง การลงมือกระทำด้วยตนเอง
เพียเจต์
เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ลงมือกระทำ โดยสิ่งแวดล้อมอาจเป็นการอบรมเลี้ยงดูหรือสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง
สรุป การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกัยและเป็นรายบุคคล

ครั้งที่ 11 วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554



























หนังสือเล่มเล็กเรื่อง"พ่อฉันทำนา"
สิ่งที่เด็กได้รับ
-ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
-เด็กได้การใช้ภาษา คือการอ่านคำคล้องจอง
-เป็นหนังสือที่เหมาสมกับเด็กในการถืออ่าน
-ภาพเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อให้เด็กเข้าใจความหมายของเรื่องได้
-เด็กได้รู้จักอาชีพชาวนา
สิ่งที่ตนเองได้รับ
-ได้มีการออกแบบ วางแผนในการทำหนังสือเล่มเล็ก
-ได้ฝึกการใช้คำคล้องจอง
-ได้การบูรณาการศิลปะ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 10 วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2554

ในสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการสั่งการบ้าน หัวข้อเรื่อง "เธอ ชอบ กิน อะไร"
และให้นำมาส่งในวันอังคารที่ 11 ม.ค. 2554
สิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ ได้แก่
ความหมายของภาษา
-ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(Code) ที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการต่างๆ และเหตุการณ์ เช่น "เด็ก กิน ขนม"
-ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น ความโศกเศร้า
-ภาษาเป็นระบบโดยมีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น มีประธาน กิริยา กรรม

ครั้งที่ 9 วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2554

ในสัปดาห์นี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการให้ใส่หมายเลข 1-44 ลงในภาพที่มีอักษร ก-ฮ ที่ผสมอยู่ในรูปสัตว์ ต่อจากนั้นอาจารย์ก็สอนวิธีการทำสมุดเล่มเล็ก และอาจารย์ก็เล่านิทานพร้อมฉีกกระดาษไปเรื่อยๆจนนิทานจบอาจารย์ก็คลี่กระดาษออก กลายเป็น เสื้อ ซึ่งนี้เป็นเทคนิควิธีในการเล่าแบบเล่าไปฉีกไปและสิ่งที่เรียนในวันนี้อาจารย์พูดถึงการเรียนรู้ของเด็กว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากปฎิสัมพันธ์จากคนรอบข้าง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และจะเริ่มเข้าใจการใช้หลักไวยกรณ์เมื่อมีอายุ 4-5 ปี
"อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปทำสมุดเล่มเล็ก เกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ได้มา 1 เรื่อง"

ครั้งที่ 8 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2553

ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค

ครั้งที่ 7 วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2553

ในวันนี้อาจารย์ติดธุระทางราชการ จึงให้อาจารย์เหมียวมาสอนแทน และสั่งงาน Big Book

ครั้งที่ 6 วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2553

วันนี้อาจารย์เหมียวได้เข้าสอนแทนอาจารย์จ๋า ซึ่งอาจารย์จ๋าสั่งงานให้ทำ Big book เรื่อง"ปริศนาคำทาย"ดังนี้
1.รับกระดาษจากอาจารย์ตามจำนวนหน้าของตัวเองที่วางแผนไว้
2.ลงมือปฏิบัติงาน
3.อาจารย์ให้กลับไปทำที่บ้านเนื่องจากอุปกรณ์พร้อมกว่าทำในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน
มีการสนทนากับอาจารย์เรื่องทำปริศนาคำทายเพราะยังไม่ค่อยเข้าใจคำสั่ง เมื่อเข้าใจแล้วเพื่อนทุกคนต่างกันตั้งใจทำและวางแผนการทำงาน

ครั้งที่ 5 วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

ในวันนี้นำเสนอ Power ponit เกี่ยวเรื่องที่เล่าใน Big Book ให้อาจารย์ได้ดูว่ามีการแก้ไขตรงไหนบ้างเพื่อก่อนนำไปใช้จริง

ครั้งที่ 4 วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงบทบาทของครูผู้สอนต้องมีการออกแบบแนวการสอนของตัวเองให้มีความแปลกใหม่ สอนในสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กโดยนำมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ อย่างเช่นการเล่านิทานที่นำกระดาษหนึ่งแผนมีการพับ การฉีก ประกอบกับเล่าเป็นนิทาน
1.การพับกระดาษเป็นรูปเรือ
2.เล่านิทานประกอบ
3.ฉีกกระดาษส่วนหัวเรือ ท้ายเรือ ออกตามเนื้อเรื่องในนิทาน
4.คลี่กระดาษที่ฉีกออก จะได้รูปเสื้อเเขนสั้น
5.เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมหลายๆด้านเข้าด้วยกันทั้งเรื่อง ภาษา ศิลปะ การใช้กล้ามเนื้อ ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาเล่านิทานเรื่อง...กระต่ายกับงูโดยใช้มือและนิ้วมือประกอบการเล่า