Well Come ยินดีต้อนรับ
Well Come ยินดีต้อนรับ
Well Come ยินดีต้อนรับ
Well Come ยินดีต้อนรับ


วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

สะท้อนการเรียนรู้การเล่าหนังสือนิทาน Big book








สิ่งที่เราได้รับ
-ได้มีการวางแผนชิ้นงาน
-ได้การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
-ได้รับประสยการณ์ตรงจากการได้ลงไปปฏิบัติกับเด็ก
-ในการทำหนังสือ Big book ครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย
สิ่งที่เด็กได้รับ
-เด็กได้ฝึกการใช้ภาษา
-เด็กได้กล้าแสดงออกในการพูด
-เด็กฝึกการค้นหาคำตอบจากการใช้คำถาม
-เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับภาษา
สถานที่ที่เล่านิทานหนังสือ Big book:โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ครั้งที่ 16 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

วันนี้เป็นวันเรียนวันปิดคลอสของรายวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์นัดสอบนอกตารางคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.00น

ครั้งที่ 15 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีควรตอบสนองความต้องการของเด็ก และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
มุมที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
การจัดมุมประสบการณ์เป็นสถานที่ ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์มีความหมายต่อเรื่องที่เรียนมีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิมเอิบไปด้วยภาษาตลอดเวลาเช่น
มุมหมอ:ควรมีใบสั่งยา มีใบบันทึกข้อมูลส่วนตัว โดยครูควรเคลือบพลาสติกให้เด็กเขียนแล้วลบได้
มุมร้านค้า:ควรมีเงิน มีการติดป้ายราคาหรือป้ายจัดหมวดหมู่ของสินค้า
มุมจราจร:เล่นอยู่ในมุมบล๊อก
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
-เริ่มจากตัวเด็กก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
-สอนแบบเป็นธรรมชาติ
-สอนอย่างมีความหมาย
-สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน จะสอนเด็กไปได้เร็วเพราะมีความรู้หรือพื้นฐานเดิมมาก่อน
-สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้
-ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน
ควรสอนอ่านก่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่1 หรือไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
-เป็นความปรารถนาจากตัวเด็ก
-วิธีการเหมาะสมกับตัวเด็ก
-เด็กมีความพร้อมที่จะอ่าน
-เด็กได้ใช้การอ่านเพื่อเสริมประสบการณ์
-ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ
ไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
-สอนโดยใช้แบบฝึกหัดเป็นประจำ การท่องจำ การระบายสีตามลายเส้น
-คาดหวังให้เด็กทำตามเหมือนกันทุกคน
-เน้นความเงียบ
-จัดกลุ่มและเรียกเด็กตามความสามารถในการอ่าน
-สอนแยกแต่ละทักษะออกจากกัน
-สอนโดยถูกบีบบังคับจากผู้ปกครอง
-ครูไม่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กอนุบาล
เทคนิคที่ไม่ควรนำมาใช้สอนภาษา
-เน้นความจำ
-เน้นการฝึก
-ใช้การทดสอบ
-สอนแต่ละทักษะแยกจากกัน
-การตีตราเด็ก
-ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษและดินสอ เส้นจุดปะ
-ไม่ยอมรับความผิดพลาด
-สอนภาษาเฉพาะในเวลาที่กำหนด
-ช่วงการสอนภาษาจะจำกัดและให้เป็นช่วงเงียบๆไม่ใช้เสียง
-จำกัดวัสดุ อุปกรณ์อาจเหลือเพียงแบบฝึกดินสอ หนังสือ แบบเรียน
-ทำให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ
เทคนิคที่ควรนำมาใช้สอนภาษา
-สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
-สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
-สอนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
-บูรณาการเข้ากับสาขาวิชาอื่น
-ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
-ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
-ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
-ให้โอกาสเด็กอย่างมากมายในการใช้ทักษะต่างๆ
-จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
-ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนาน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 14 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

ภาษาที่เกิดขึ้นและใช้ได้ดีต้องมีความหมาย
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนได้เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ โดยมีสื่อคือ
-นิทาน
-หนังสือพิมพ์
-โฆษณา
-โปรชัว ใบปลิว
ภาษาที่เกิดขึ้นจากการอ่านของเด็กปฐมวัย
1.การอ่านเงียบๆตามลำพังควรอ่านที่ มุมนิทาน มุมหนังสือ
2.การอ่านเป็นคู่หรือกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายรวมกัน เกิดขึ้นเด็กเล่าให้กันฟังหรือสนทนากัน
3.การอ่านจากสิ่งที่ครู -เด็กเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
อ่าน-เขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด(ยอมรับในสิ่งที่เด็กเขียนออกมา ที่เด็กสื่อความหมายตามภาษาธรรมชาติของเขาและค่อยหาทางแก้ไข)
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน(ถ้าใช้ Big bookสามารถใช้ร่วมกับเด็กกลุ่มใหญ่ได้)
ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ เช่น คำซ้ำ คำคล้องจอง

-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินได้
-ให้เด็กเลือกหนังสือที่ชอบและไปนั่งอ่านมุมเงียบๆ(มุมหนังสือนิทาน)
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
-ครูตรวจสอบการเขียนของแต่ละคน
ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
-ภาษาพูดกับภาษาเขียนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันมากเกิดขึ้นโดยการเล่าสนทนาโต้ตอบกัน
-ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้นด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพัธ์กับตัวเด็ก ทำให้เด็กได้สื่อสารและแสดงความรู้สึกออกมาเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 13 วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนและออกไปปฏิบัติหน้าห้องสิ่งที่กำหนดให้ดังนี้
1.คำคล้องจอง
2.รู้สึกอย่างไร
3.ครอบครัวของฉัน
4.ทำและปฏิบัติ
5.ทำตรงกันข้าม
6.พูดกระซิบต่อกัน
7.วาดภาพและเล่านิทานต่อกัน
8.ร้องเพลง
9.วาดภาพเล่าเรื่องแต่ละหัวข้อมีประโยชน์อย่างไรกับเด็กปฐมวัย
บรรยากาศในห้องสนุกสนานตอนที่เพื่อนออกไปปฏิบัติหน้าห้อง
อาจารย์ให้ออกแบบวางแผนการทำปฏิทินคำ ของดิฉันทำคำที่สระ"อู"ลงท้าย

ครั้งที่ 12 วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2554

อาจาร์ยสอนเรื่องบรูณาการนิทาน เชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ
นิทานเรื่อง"ผมแกละ" นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องอะไรให้กับเด็กได้บ้าง
-เลียนเสียงของสัตว์
-คำซ้ำ
-เด็กๆอย่ากลัวเสียงฟ้าร้อง
ภาษาธรรมชาติ(Whole Language Approach)การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาการภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ครูใช้ภาษาทุกทักษะด้านการฟัง การพูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะนำหลักสูตร การทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ เขียนหนังสือต่างๆ
จูดิท นิวแมน(Judith Newman)
ปรัชญาคือ ความเชื่อในความตั้งใจ
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา ความคิด ของผู้สอนโดยก่อตัวขึ้นจากหลักการผู้สอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์โดยตรง การลงมือกระทำด้วยตนเอง
เพียเจต์
เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ลงมือกระทำ โดยสิ่งแวดล้อมอาจเป็นการอบรมเลี้ยงดูหรือสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง
สรุป การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกัยและเป็นรายบุคคล

ครั้งที่ 11 วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2554



























หนังสือเล่มเล็กเรื่อง"พ่อฉันทำนา"
สิ่งที่เด็กได้รับ
-ส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
-เด็กได้การใช้ภาษา คือการอ่านคำคล้องจอง
-เป็นหนังสือที่เหมาสมกับเด็กในการถืออ่าน
-ภาพเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อให้เด็กเข้าใจความหมายของเรื่องได้
-เด็กได้รู้จักอาชีพชาวนา
สิ่งที่ตนเองได้รับ
-ได้มีการออกแบบ วางแผนในการทำหนังสือเล่มเล็ก
-ได้ฝึกการใช้คำคล้องจอง
-ได้การบูรณาการศิลปะ